วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่งการบ้านครั้งที่ 3 : ฮันบกแห่งโชซอน

ฮันบกแห่งโชซอน

"ฮันบก" มาจากคำสองคำ คือ
"ฮัน" หมายถึง คนเกาหลี และ 
"บก" หมายถึง เครื่องแต่งกาย
เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า เครื่องแต่งกาย / ชุดของคนเกาหลี 
(stou27.fix.gs/index.php?topic=1204.0)


รูป 1 ชุดฮันบกสำหรับเจ้าสาวในพิธีสมรส (makeup-artist-kant.bloggang.com)


ฮันบกเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติเกาหลีมาเป็นเวลาพัน ๆ ปีมาแล้ว ความงาม และความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลีจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบก
ก่อนที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อร้อยปีมาแล้วนั้น หญิงชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน ส่วนสุภาพบุรุษจะสวมชอโกรี (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และพาจิ (กางเกงขายาว) ในขณะที่สุภาพสตรีสวมชอกอรีและชีมา (กระโปรง) ในปัจจุบันชุดประจำชาติฮันบก จะใช้สวมเฉพาะในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส วันซอลลัล (วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) ฮันบก ของผู้หญิงประกอบด้วย กระโปรงพันรอบตัว เรียกว่า “ชิมา” และเสื้อ 
“ชอกอรี” ซึ่งคล้ายเสื้อแจ็คเก็ตฮันบกของผู้ชายประกอบด้วยชอกอริเช่นกัน แต่สั้นกว่าของผู้หญิง และมีกางเกงเรียกว่า “บาจิ” ทั้งชุดของผู้หญิง และผู้ชายสวมคลุมทับด้วยเสื้อคลุมยาวเรียกว่า “ตุรุมากิ”
(th.wikipedia.org/wiki/)


รูป 2 ชุดฮันบกสำหรับงานศพ (www.yukata1689.webiz.co.th)

ฮันบก เป็นชุดประจำชาติเกาหลีฏ้จริง แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใส่ในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังพอมีเห็นกันบ้างตามชนบท จะเห็นคุณย่าคุณยาย หรือผู้หญิงฐานะดีใส่กัน ปัจจุบันนี้ชาว เกาหลี นิยมสวมชุดแต่งกายประจำชาติ ในงานเทศกาล หรือในงานพิธีต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ เป็นต้น
ฮันบกมีความงดงาม และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมเกาหลีที่ถ่ายทอดออกมาเป็นความประณีต และทัศนคติของบรรพบุรุษชาวเกาหลี ส่วนหนึ่งในเรื่องการแต่งกายผ่านครื่องแต่งกายฮันบกนี้ โดยสตรี
ชุดฮันบก มีความคล้ายคลึงกับชุดไทยของเรา ในเรื่องของการมีวิวัฒนาการมาโดยตลอดตามยุคสมัย จนกระทั่งในสมัยปัจจุบัน ก็มีชุดฮันบก ประยุกต์จากที่ได้เห็นกัน ในละครหรือหนังพีเรียดของเกาหลีหลายๆ เรื่อง หากติดตามละครประวัติศาสตร์ของเกาหลี ก็จะเห็นวิวัฒนาการของชุดฮันบกจากภาพยนตร์หลายๆ เรื่องในเกาหลี ซึ่งมีความหลากหลายไปตาม ศักดินา และชนชั้น ของผู้สวมใส่ ทุกยุคทุกสมัย


รูป 3 ชุดฮันบกกษัตริย์ (tlslrkal.egloos.com)



รูป 4 ชุดฮันบกขุนนาง (stou27.fix.gs)

ชุดฮันบกมองดูหนา และมีหลายชั้น ไม่ใช่เพราะอากาศหนาวอย่างเดียว เป็นเพราะชาวเกาหลีเอง
มีทัศนะคติคล้ายๆ จีนที่ว่า ผู้หญิงไม่ควรเปิดเผยผิวให้คนอื่นเห็นมากเกินจำเป็น ชุดฮันบก ก็เลยมีประมาณ 4-5 ชั้น สีสันของชุด ถ้าเป็นชุดของเด็กๆ สีสันจะยิ่งสดใส ทั้งที่ชุดฮันบกของผู้ใหญ่ก็สีสันสดใสอยู่แล้ว



รูป 5 ชุดฮันบกสำหรับผู้ใหญ่ (shineeglitter.blogspot.com)

ชุดฮันบกมีเสื้อกับกระโปรงบางๆ ใส่เป็นซับในชั้นแรกก่อน มีสุ่มไก่เพื่อให้กระโปรงท่อนล่างบานขึ้นมา ใส่เสื้อบางๆ ทับอีกชั้น แล้วถึงจะใส่เสื้อ และกระโปรงสีสันสดในอย่างที่เห็นกัน (ถ้าจะออกนอกบ้าน ต้องสวมเสื้อนอกอีกตัวหนึ่งทับไว้ด้วย) ผ้าที่นำมาใช้ตัดชุดฮันบกมีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผ้าป่าน ผ้าฝ้ายมัสลิน ผ้าไหม ผ้าแพร โดยผู้สวมใส่จะเลือกใส่ชุดที่ตัดจากผ้าชนิดใดขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ โดยชุดฮันบกที่ใช้สำหรับแต่งกายในฤดูหนาวมักใช้ผ้าที่ทอจากฝ้าย
การสวมชุดฮันบก จะให้สมบูรณ์จริงๆ ต้องมีการเกล้าผมขึ้น แล้วก็ต้องมีปิ่นปักผม และใส่ถุงเท้า และรองเท้าให้เข้าคู่กันด้วย ความสวยงามพิถีพิถันจะเป็นไปตามศักดินาของผู้สวมใส่

ก่อนที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อร้อยปีมาแล้วนั้น สตรีชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน แต่ในปัจจุบันชุดฮันบก จะใช้สวมในโอกาสพิเศษต่างๆ งานมงคลสมรส วันซอลลัล ( วันขึ้นปีใหม่ ตามจันทรคติ) หรือวันซูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) 
(www.sukishigroup.com/)


ฮันบกในยุคแรกๆ นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เนื่องจากเกาหลีมีอาณาเขตที่ติดกับดินแดนของจีน ต่อมาในสมัยโชซอน เริ่มมีการติดต่อกับเปอร์เซียและญี่ปุ่นมากขึ้น จึงทำให้ชุด "ฮันบก" มีลวดลายมากขึ้น รวมถึงเริ่มมีเครื่องประดับที่บ่งบอกสถานะและตำแหน่งขึ้นด้วย โดยทั่วไป ชาวบ้านสามัญ จะสวม "ฮันบก" สีธรรมชาติ ส่วนผู้มีฐานะจะสวม "ฮันบก" ที่มีสีสัน แต่จะไม่ซ้ำกับสีที่ใช้ในวังหลวง

สีผ้าที่ถูกเลือกมาใช้ตัดชุดฮันบกส่วนใหญ่จะเป็นสีขาว ซึ่งสื่อถึงความสะอาด ความบริสุทธิ์ แต่หากต้องการได้ชุดที่ดูหรูขึ้นมาอีกนิดสำหรับสวมใส่ไปงานสำคัญ ๆ ก็จะใช้ผ้าสีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีดำมาประกอบ การแต่งกายด้วยชุดฮันบกไม่ได้มีการกำหนดว่าจะต้องเป็นสีใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้สวมใส่เป็นหลัก


รูป 6 ชุดฮันบกสีขาว (twssg.blogspot.com)

หญิงสาวเกาหลีตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่จะมีชุดฮันบกเป็นของตนเองสำหรับใช้ใส่ในวันสำคัญต่าง ๆ โดยเราจะสังเกตได้ว่า ชุดฮันบกของหญิงสาวจะถูกออกแบบมาให้เป็นกระโปรงพองยาว และเสื้อตัวสั้น ทั้งนี้ก็เพื่อพรางรูปร่าง และปกปิดส่วนเว้าส่วนโค้งของผู้สวมใส่ไม่ให้เป็นที่ดึงดูดสายตาของเพศตรงข้าม
(stou27.fix.gs/index.php?topic=1204.0)



ที่มา :

http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.sukishigroup.com/
http://stou27.fix.gs/index.php?topic=1204.0
http://makeup-artist-kant.bloggang.com
http://www.yukata1689.webiz.co.th
http://tlslrkal.egloos.com
http://stou27.fix.gs
http://shineeglitter.blogspot.com
http://twssg.blogspot.com


วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบสร้างบทความครั้งที่ 1



ม.ร.ว. คึกฤิทธิ์ ปราโมช ได้เล่าเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “สมบัติไทย" จัดพิมพ์โดยศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี วิทยาลัยครูเทพสตรี พ.ศ. ๒๕๒๔ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

"กฎเกณฑ์เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์นั้นมีหลายอย่างข้อหนึ่งก็คือ ห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์อย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งศีรษะและเส้นผมของพระมหากษัตริย์ ศีรษะของพระมหากษัตริย์เรียกว่า "พระเจ้า" และเส้นผมของพระมหากษัตริย์เรียกว่า “เส้นพระเจ้า” ไม่ใช่เส้นพระเกษา เจ้านายธรรมดานั้นศีรษะเรียกว่า "พระเศียร" ผมเรียกว่า "พระเกษา" 

(ในสมัยก่อนเมื่อมีการห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์โดยเด็ดขาดเช่นนี้ ความจำเป็นต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น ประการแรก เรื่องความปลอดภัย คนไทยแต่ก่อนเดินทางโดยเรือเป็นส่วนมากพระมหากษัตริย์ก็มักเสด็จโดยเรือพระที่นั่ง จึงมีข้อบังคับแน่นอนว่า ในเรือพระที่นั่งนั้นจะต้องมีมะพร้าวห้าวผูกเป็นคู่วางไว้ในทีต่าง ๆ ในเรือพระที่นั่ง เพราะถ้าเรือพระที่นั่งล่มลง คนที่ไปในเรือของพระองค์ก็ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือพระองค์ได้ ทางที่ดีที่สุดคือโยนมะพร้าวห้าวไปให้ นี่เป็นประเพณีเคร่งครัดเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีสมเด็จพระนางเจ้าพระองค์หนึ่ง (* หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์) เรือล่มที่เมืองนนทบุรี ไม่มีใครช่วยเพราะกลัวกฎมณเฑียรบาลมีข้าราชการข้าราชสำนักพระองค์หนึ่งยืนขึ้นบนเรือ และแกว่งดาบประกาศว่า ถ้าใครเข้าไปช่วยหรือแตะต้องพระองค์ก็จะตัดหัวเสีย สมเด็จพระนางเจ้าพระองค์นั้นก็เลยเสด็จสวรรคตในแม่น้ำ) 

มีปัญหาว่าพระมหากษัตริย์ตัดผมหรือคำราชาศัพท์ว่า "ทรงเครื่องใหญ่" อย่างไร เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์จำเป็นจะต้องมีคนรับใช้ปรนนิบัติ ในเรื่องที่พระองค์จะทรงเครื่องใหญ่นี้ก็จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการเกิดขึ้นเป็นกรมกรมหนึ่งเรียกว่า “กรมภูษามาลา” คำว่า “ภูษา” แปลว่า "ผ้า” "มาลา” ในที่นี่ไม่ได้แปลว่า ดอกไม้ แต่แปลว่าเครื่องประดับซึ่งเป็นเครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องสวมศีรษะลงมาจนกระทั่งเครื่องสวมอื่น ๆ 

เจ้าพนักงานภูษามาลาซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็คงจะได้มาจากผู้ที่มีสกุลสูง คือผู้ที่มีเลือดกษัตริย์ หรือผู้ที่เป็นพราหมณ์ เอามาตั้งเป็นเจ้าพนักงานกรมภูษามาลา เมื่อตั่งแล้วก็สืบตระกูลกันเรื่อยมา อาจจะเรียกได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ มีสิทธิจับต้ององค์พระมหากษัตริย์ได้ และมีหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์เจ้าพนักงานกรมภูษามาลาปัจจุบันนี้ ก็สืบตระกูลมาจากภูษามาลาสมัยอยุธยาหลายสกุลอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสกุลวัชโรทัยสืบสกุลมาจากพระยาอุทัยธรรม เจ้ากรมภูษามาลาสมัยอยุธยาและเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นข้าราชสำนักอยู่ 

เรื่องการทรงเครื่องใหญ่ ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะนอกจากพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้าตามคติของคนโบราณแล้ว เส้นผมของเทพเจ้านั้นคนโบราณเชื่อว่าเป็นของร้อนอย่างยิ่งเกินที่มนุษย์จะทนทานได้ ถ้าหากว่าเส้นผมของเทพเจ้านั้นตกลงต้องแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่แล้ว ถ้าแผ่นดินไม่ลุกเป็นไฟ ความแห้งแล้งทั้งหลายจะเกิดขึ้นเป็นภัยแก่ราษฎรในการทรงเครื่องใหญ่จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง สถานที่ที่จะประทับทรงเครื่องใหญ่นั้นต้องเอาใบตองมาปูเสียก่อน แล้วปูหนังราชสีห์ทับลงไปอีก เหนือหนังราชสีห์ขึ้นมาก็ปูผ้าขาวแล้วจึงตั้งพระเก้าอี้หรือพระแท่นเป็นที่ประทับสำหรับทรงเครื่องใหญ่ 

ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของกรมภูษามาลาที่จะดำเนินการ ถ้าโบราณจริงแล้ว ต้องมีพราหมณ์ขับบัณเฑาะว์และอ่านวรรณคดีถวาย เรียกว่า ขับบัณเฑาะว์ เพื่อให้เพลิดเพลินพระราชหฤทัยในรัชกาลนี้ได้สั่งเลิกการขับบัณเฑาะว์ไปแล้ว แต่อย่างอื่นยังต้องรักษาไว้ตามพระราชประเพณี แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่มีอำนาจทรงสั่งเลิก ในเวลาลงมือเปลื้องเส้นพระเจ้า (ตัดผม) และก่อนที่จะใช้เครื่องมืออย่างไร เจ้าพนักงานจะต้องกราบถวายบังคม ๓ ครั้งอย่างคนโบราณ และกราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อนว่าจะใช้เครื่องมืออะไร เป็นต้นว่าใช้กรรไกรก็ต้องกราบบังคมทูลว่าข้าพระพุทธเจ้าขอพระบรมราชานุญาตใช้พระแสงกรรบิด เวลาเปลื้องเส้นพระเจ้าต้องเอามือรับ ใส่ผอบรวบรวมไว้มาก ๆ แล้วนำไปลอยในพระมหาสมุทร ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมในพระราชสำนักและหาดูได้ยาก” 

ที่มาของข้อมูล 
http://atcloud.com/stories/29071


วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่งการบ้านครั้งที่ 2:กิมจิแดนโสม

กิมจิแดนโสม

กิมจิ ( 김치) มีข้อสันนิษฐานกันว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ชิมเช" ที่แปลว่า ผักดองเค็ม กิมจิเป็นอาหารเกาหลีประเภทผักดองที่อาศัยภูมิปัญญาก้นครัวของชาวเกาหลี ด้วยการหมักพริกสีแดง และผักต่างๆ โดยทั่วไปจะเป็นผักกาดขาว ชาวเกาหลีนิยมรับประทานกิมจิเกือบทุกมื้อ และยังนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบอาหารอีกหลายอย่าง เช่น ข้าวต้ม ข้าวสวย ซุป ข้าวผัด สตู บะหมี่ จนถึงพิซซา และเบอร์เกอร์ ปัจจุบันกิมจิมีมากกว่า 187 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเผ็ด เปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน แม้ปัจจุบันมีบริษัทอาหาร
ผลิตกิมจิสำเร็จรูป หรือแบบสดขายตามห้างสรรพสินค้าก็ตาม แต่ชาวเกาหลีก็ยังนิยมทำกิมจิกินเอง
ที่บ้าน (th.wikipedia.org/wiki/)



รูป 1 กิมจิผักกาดขาว (www.oknation.net/blog/koreanfood/2008/10/20/entry-1)

ตั้งแต่มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกมานั้น ผักเป็นที่ชื่นชอบ   เนื่องจากมีวิตามิน   และแร่ธาตุมากมาย อย่างไรก็ดี  ในฤดูหนาวเมื่อการเพาะปลูกไม่เอื้ออำนวย  จึงได้นำไปสู่การพัฒนาการการถนอมอาหารโดยวิธีการหมักดอง กิมจิซึ่งเป็นผักดองชนิดหนึ่งจึงถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 7



รูป 2 โกจูจัง (พริกเกาหลี) (www.bloggang.com)

แรกทีเดียว กิมจิเป็นผักดองเค็มธรรมดา แต่ในระหว่างศตวรรษที่ 12 ได้มีการทำกิมจิในรูปแบบใหม่ที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส และในศตวรรษที่ 18 พริกเผ็ดป่นก็ได้มาเป็นส่วนผสมที่สำคัญของกิมจิในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการนำเอากะหล่ำปลีเข้ามาในศตวรรษที่ 19 มาทำเป็นกิมจิซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันนี้



รูป 3 กิมจิกะหล่ำปลี (m.hellomiki.com)

กิมจิในสมัยโบราณ
เป็นการยากที่จะพิสูจน์ขบวนการการพัฒนากิมจิในสมัยโบราณเพราะการบันทึกทางประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นแทบจะไม่มีเลย เราเพียงแต่สันนิษฐานเอาว่าใช้วิธีการนำผักมาดองเกลือเพื่อที่จะเก็บรักษาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้เท่านั้น
     
กิมจิในสมัยอาณาจักรโคเรียว 
แม้จะไม่มีการบันทึกแน่ชัดลงไปว่ามีการพบกิมจิในสมัยก่อน กะหล่ำปลีได้ถูกกล่าวถึงในตำรายารักษาโรคทางภาคตะวันออก เรียกว่า ฮันยักกูกึบบัง (Hanyakgugeupbang) มีกิมจิสองชนิดคือ กิมจิ-จางอาจิ
(หัวไชเท้าฝานเป็นแผ่นดองด้วยซอสถั่วเหลือง) และ ซุมมู โซกึมชอลรี (หัวไชโป๊) สมัยนี้กิมจิได้รับความสนใจว่าเป็นอาหารแปรรูปที่ชื่นชอบ โดยไม่คำนึงถึงฤดูกาล และการเก็บรักษาในฤดูหนาว คาดกันว่า การพัฒนาให้มีรสชาติในสมัยนั้น คือ การทำกิมจิให้มีรสจัดจ้าน
     
กิมจิในสมัยโชซอน 
หลังจากที่ได้มีการนำผักจากต่างประเทศเข้ามา กะหล่ำปลีใช้เป็นผักชนิดหลักในการนำมาทำกิมจิโดยทั่วไป ต้นศตวรรษที่ 17 (หลังจากที่ถูกญี่ปุ่นรุกรานในปี ค.ศ. 1592) มีการนำเข้าพริกจากประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นราว 200 ปี พริกได้ถูกใช้เป็นส่วนผสมอย่างหนึ่งของกิมจิ ดังนั้น ราวปลายสมัยโชซอน
สีของกิมจิจึงกลายมาเป็นสีแดง
     
กิมจิในราชสำนักโชซอน
ตามปกติมีกิมจิสามชนิดที่ได้ถูกนำขึ้นมาถวายต่อกษัตริย์ในราชวงศ์โชซอน ได้แก่ กะหล่ำปลีล้วน 
(ชอทกุกจิ) เป็นกิมจิที่ผสมด้วยปลาหมักจำนวนมาก กิมจิหัวไชเท้า หรือ คักดูกิ และกิมจิน้ำ
     
แม้หัวไชเท้าและน้ำจะเป็นวัตถุหลักในการทำกิมจิน้ำ  ยังมีเครื่องปรุงหลายอย่างใช้ในการเพิ่มรสชาติสำหรับราชสำนักโชซอน หัวไชเท้าที่นำไปทำกิมจิน้ำจะต้องมีรูปทรงที่ดี และจะต้องล้าง และหมักด้วยเกลือก่อนที่จะนำไปหมักในไหฝังดิน มีเกร็ดเล็กน้อยว่ากษัตริย์โกชอง  กษัตริย์องค์รองสุดท้ายของ
โชซอน โปรดก๋วยเตี๋ยวเย็นผสมในกิมจิน้ำพร้อมด้วยน้ำซุปเนื้อเป็นอาหารมื้อค่ำในฤดูหนาว ดังนั้น
จึงมีการทำกิมจิน้ำตำหรับพิเศษโดยมีลูกแพร์เป็นส่วนผสมใช้ทำก๋วยเตี๋ยวเย็นโดยเฉพาะ 

กิมจิสมัยใหม่
มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่า กิมจิเป็นอาหารบำรุงอย่างดี และนักโภชนาการทั้งหลายยังได้แนะนำให้เป็นอาหารในอนาคต สำหรับการบริโภคทั้งใน และต่างประเทศ ดังนั้น กิมจิจึงเป็นสินค้าส่งออกไปยังประเทศต่างๆที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวเกาหลีที่เดินทางเข้าประเทศจีน รัสเซีย และ เกาะฮาวาย และ ญี่ปุ่น เป็นคนแรกที่แนะนำกิมจิ และรับประทานกิมจิเป็นเครื่องเคียง และค่อยๆเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆในหมู่ชาวต่างชาติ ด้วยเหตุนี้จะพบกิมจิได้ในที่ที่มีชาวเกาหลีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งมีชาวเกาหลีมากมาย กิมจิบรรจุกล่องหาได้ง่าย แต่ก่อนการผลิต และการบริโภคกิมจิจะอยู่ในสังคมชาวเกาหลีเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นอาหารของโลกไปแล้ว (www.outlooktravel.co.th/traveldetail)

ตัวสัญลักษณ์กิมจิ
ตัวสัญลักษณ์กิมจิสร้างขึ้นโดย องค์กรการค้าเกษตรกรรมและการประมงเกาหลี (Korea Agro-Fisheries Trade Corporation) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เพื่อส่งเสริมกิมจิแท้จากประเทศเกาหลี และสร้างความแตกต่างระหว่างกิมจิเกาหลีและกิมจิญี่ปุ่นให้ชัดเจนขึ้น ตัวสัญลักษณ์กิมจินี้พบได้เฉพาะกิมจิแท้ของประเทศเกาหลี ซึ่งต้องทำ และผลิตจากวัตถุดิบในประเทศเกาหลีเท่านั้น โดยตัวสัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศเกาหลี และอีกหลายเมืองหลายประเทศทั่วโลกได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน ฝรั่งเศส สเปน สหราชอาณาจักร อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เยอรมัน แคนาดา นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ เปรู และประเทศไทย (th.wikipedia.org/wiki/)


รูป 4 ตัวสัญลักษณ์กิมจิ (th.wikipedia.org/wiki/)



ที่มา :
http://www.outlooktravel.co.th/traveldetail
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.oknation.net/blog/koreanfood/2008/10/20/entry-1
http://m.hellomiki.com
http://www.bloggang.com

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่งการบ้านครั้งที่ 1:ความเป็นมาภาษาเกาหลี

ความเป็นมาภาษาเกาหลี



รูป 1 อักษรฮันกึล (wiki.gizrak.com)


ในอดีตประเทศเกาหลี ไม่มีอักษรเป็นของตนเอง ชาวเกาหลีจึงได้รับเอาอักษรจากจีนมาใช้
ซึ่งอักษรจีนเป็นอักษรที่ยาก เพราะมีความซับซ้อน ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษามาก
จึงจะสามารถศึกษาภาษาจีนได้อย่างแตกฉาน ด้วยเหตุผลนี้เอง ในสังคมเกาหลีจึงมีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถศึกษาอักษรจีนได้ ชาวบ้านสามัญชนธรรมดาไม่สามารถอ่าน และเขียนอักษรจีนได้
ในปี ค.ศ.1443 รัชสมัยของพระเจ้าเซจงมหาราช พระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหานี้ ทรงต้องการให้ประเทศเกาหลีมีอักษรเป็นของตนเอง และอักษรนั้นจะต้องเป็นอักษรที่ประชาชนทั่วไปสามารถเรียนรู้ได้ง่าย พระองค์ และคณะนักปราชญ์ในยุคนั้นจึงได้ประดิษฐ์ พยัญชนะ และสระเกาหลีขึ้นมา เรียกว่า 
혼민정음 (ฮุนมินจองอึม) แปลว่า "เสียงอักษรที่ถูกต้องไว้เพื่อสอนประชาชน" ต่อมาก็ได้มีการพัฒนา และปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนในที่สุดได้ปรับเปลี่ยนชื่อจาก 혼민정음 (ฮุนมินจองอึม) มาเป็น 한글 (ฮันกึล) ซึ่งแปลว่า "อักษรเกาหลี" (www.thaigoodview.com/node/42743)


รูป 2 พระเจ้าเซจงมหาราช (hunkook.com/)

“พระเจ้าเซจงมหาราช 세종대왕”  (พ.ศ. 1940 ถึง พ.ศ. 1993) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โชซอนของเกาหลี (พ.ศ. 1961 ถึง พ.ศ. 1993) ทรงเป็นที่รู้จักในการที่ทรงประดิษฐ์อักษรเกาหลีฮันกึล และทรงเป็นหนึ่งในสองกษัตริย์เกาหลีที่มีพระนามเป็นมหาราช (hunkook.com/)

ภาษาเกาหลี (한국어/조선말) 
เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ 
และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนพูดโดยทั่วไป (ในจังหวัดเหยียนเปียน มณฑลจื๋อหลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลี) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคน
ในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากภาษาเกาหลี
มีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์ หรือโครงสร้างประโยคนั้น
เป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (SOV) (th.wikipedia.org/wiki/)

อักษรเกาหลี เรียกว่า อักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ 
โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรง และทางอ้อม (th.wikipedia.org/wiki/)


ชื่อเรียกคำว่า "ภาษาเกาหลี"
ในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้มีความแตกต่างกัน ในเกาหลีเหนือ ชาวเกาหลีเหนือส่วนใหญ่มักเรียกว่า 
โชซอนมัล (조선말) หรือหากเป็นทางการขึ้นจะเรียกว่า โชซอนอ (조선어)
ในเกาหลีใต้ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกภาษาของตนว่า ฮันกุกมัล (한국말) หรือ ฮันกุกอ (한국어) หรือ กุกอ (국어) บางครั้งอาจเรียกในแบบภาษาพื้นเมืองหรือภาษาถิ่นว่า อูรีมัล (แปลว่า "ภาษาของเรา"; มาจากคำว่า 우리말 (เขียนติดกันในเกาหลีใต้) หรือ 우리 말 (เขียนแยกกันในเกาหลีเหนือ)
(iam.hunsa.com/maggam/article/13285)

สำเนียงท้องถิ่นภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลีมีสำเนียงท้องถิ่นมากมาย ภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีใต้ คือ สำเนียงท้องถิ่นที่ใช้ในพื้นที่บริเวณกรุงโซล และภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีเหนือ คือ สำเนียงท้องถิ่นที่ใช้บริเวณกรุงเปียงยาง สำเนียงท้องถิ่นโดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นสำเนียงท้องถิ่นบนเกาะเชจูที่มีความแตกต่างค่อนข้างมาก ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างสำเนียงท้องถิ่นแต่ละแห่งคือ การเน้นเสียง (stress) สำเนียงท้องถิ่นของกรุงโซลจะเน้นเสียงน้อยมาก และไม่ค่อยมีความสูงต่ำในการเปล่งเสียง ในทางกลับกัน สำเนียงท้องถิ่นของ คยองซัง มีความสูงต่ำของการออกเสียงอย่างมากจนคล้ายกับภาษาทางยุโรป อย่างไรก็ตาม เราสามารถจำแนกสำเนียงท้องถิ่นของภาษาเกาหลีออกเป็นภูมิภาคต่างๆ โดยพิจารณาจากขอบเขตของภูเขาและทะเล (th.wikipedia.org/wiki/)





ที่มา :
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.thaigoodview.com/node/42743
http://iam.hunsa.com/maggam/article/13285
http://hunkook.com/
http://wiki.gizrak.com

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

TEST:ประวัติวันคริสต์มาส




ซานตาคลอส


           
        ซานตาคลอสเป็นสิ่งแรกๆ ที่ต้องนึกถึงเมื่อพูดถึงวันคริสต์มาส

โดยบุคคลซึ่งเรียกได้ว่าเป็นซานตาคลอสคนแรกคือ นักบุญ (เซนต์) 

นิโคลลัส ท่านเป็นสังฆราชอยู่ที่โบสถ์ในเมืองไมรา ซึ่งตั้งอยูใน

ประเทศตุรกีในปัจจุบัน(WEB 2, WEB 3) 

        ทั้งนี้ แท้ที่จริงแล้ว ซานตาคลอสแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
เทศกาลนี้เลย เพราะนักบุญนิโคลลัสเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ ท่านมีชีวิตอยู่ช่วงศตวรรษที่ 4 ซึ่งท่านเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือมาก โดยจะมีการฉลองวันนักบุญนิโคลลัส ในวันที่ 6 ธันวาคมของทุกปี และเมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่อเมริกา ก็ยังสืบทอดประเพณีนี้ไปเรื่อยๆ (WEB 2) โดยมีเรื่องเล่าอยู่ว่า วันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าของเด็กหญิงที่ตากไว้ข้างเตาผิง (WEB 2)